การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ

เกณฑ์สำหรับผู้ที่เหมาะสมสำหรับหัตถการนี้

  • มีดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 32 – 45 อายุ 15 – 45 ปี
  • ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 50 อาจได้รับการยอมรับให้ผ่าตัด หากผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 50 ปี และไม่มีภาวะร้ายแรงที่ส่งผลต่อการใช้ยาระงับความรู้สึก

หัตถการผ่าตัด

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะเป็นหัตถการที่นำกระเพาะบางส่วนหรือทั้งหมดออกอย่างถาวร มักใช้กับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารและผู้ป่วยโรคอ้วน ศัลยแพทย์จะแบ่ง และปิดผนึกเส้นเลือดที่ส่งเลือด ไปยังกระเพาะอาหารส่วนดังกล่าวออก จากนั้นกระเพาะอาหารจะได้รับการเย็บปิด โดยการใช้ท่อนำเพื่อวัดขนาดของท่อกระเพาะอาหารที่เหลือไว้ และนำกระเพาะอาหารออกประมาณสี่ในห้าส่วน หัตถการนี้เรียกว่าการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร เนื่องจากจะจำกัดปริมาณอาหาร/เครื่องดื่มที่กระเพาะอาหารจะบรรจุได้หลังการผ่าตัด ซึ่งโดยปกติแล้วกระเพาะอาหารของเรานั้นมีความจุมากถึง 2,000 มิลลิลิตร แต่หัตถการนี้จะลดความจุของกระเพาะอาหารให้เหลือน้อยกว่า 150 มิลลิลิตร

พักรักษาตัวในโรงพยาบาล

* 5 คืน

ระยะเวลาการผ่าตัด

1 - 2 ชั่วโมง

ยาชา / ยาสลบ

การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว

การดูแลก่อนการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด โปรดแจ้งให้ศัลยแพทย์ของคุณทราบถึงอาการแพ้ โรคประจำตัว และยาที่กำลังรับประทาน (ทั้งที่ต้องมีและและไม่มีใบสั่งยา)
ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องแจ้งศัลยแพทย์ก่อนการผ่าตัด เพื่อลดโอกาส ในการมีเลือดออกหลังการผ่าตัด และควรหลีกเลี่ยงยาที่มีแอสไพรินหรือบรูเฟน เป็นเวลาสองสัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
ห้ามสูบบุหรี่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เนื่องจากการสูบบุหรี่อาจส่งผลต่อ ปฏิกิริยาของคุณต่อยาชาและทำให้หายช้าลง
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ

การดูแลหลังการผ่าตัด

1. โปรดแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่กำลังรับประทาน (ทั้งที่ต้องมีและไม่มีใบสั่งยา) อาการแพ้ และโรคประจำตัว (เช่น โรคหอบหืด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ฯลฯ ) และอัพเดตผลการตรวจทดสอบล่วงหน้า 1-2 เดือนก่อนวันผ่าตัด

2. งดรับประทานแอสไพริน ยาที่มีไอบูโพรเฟน วิตามิน และสมุนไพรทุกชนิด อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพื่อลดโอกาสในการมีเลือดออกหลังการผ่าตัด และโปรดปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาก่อนหยุดยาต้านการแข็งตัว ของเลือด

3. งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้คุณหายช้าลงอันเนื่องจาก ภาวะหลอดเลือดตีบ

4. งดอาหารและของเหลวทุกชนิดเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับคำปรึกษาและการผ่าตัด

5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนพบแพทย์ตามนัด

6. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ได้สวมใส่เครื่องประดับ เครื่องประดับแบบเจาะ หรือไม่ใช้เครื่องสำอางและยาทาเล็บ เมื่อเข้ารับการผ่าตัด

7. ควรอาบน้ำในตอนเช้าของวันผ่าตัด สระผม และอย่าใช้น้ำหอม โลชั่น แป้ง ครีม หรือผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ทุกชนิด

การดูแลหลังการผ่าตัดและระยะพักฟื้น

จะให้เริ่มดื่มน้ำในวันแรกหรือวันที่สองของการผ่าตัด และเมื่อดื่มน้ำได้ตามปกติแล้ว ก็จะเริ่มรับประทานอาหาร และจะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด (น้ำเกลือ) เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายมีสารน้ำเพียงพอ ดังนั้นร่างกายจะไม่ขาดน้ำ และแพทย์จะนัดเพื่อติดตามผล 1 ครั้งหลังจากที่ออกจากโรงพยาบาล

การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มหลังการผ่าตัด

คุณจะถูกห้ามไม่ให้รับประทานหรือดื่มอะไรเลยจนกว่าจะเริ่มดื่มน้ำได้ ในช่วงเวลานี้จะได้รับสารน้ำผ่านทางน้ำเกลือและอาจมีอาการปากแห้งอย่างรุนแรง เข้าหน้าพยาบาลอาจให้ล้างปาก และจะสามารถบ้วนปากได้ แต่จะต้องไม่กลืนน้ำ จากนั้นคุณจะสามารถเริ่มดื่มน้ำ 1,200 มิลลิลิตรอย่างช้า ๆ ในตอนแรก และสามารถเริ่มรับประทานอาหารอ่อน ๆ ได้เมื่อถึงเวลาอาหาร

ในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมาจะสามารถรับประทานอาหารอ่อน ๆ จากนั้นจึงจะสามารถรับประทานอาหารแข็งได้ในแต่ละมื้อ ซึ่งจะรับประทานอาหารได้น้อยลงมาก และอาจไม่สามารถดื่มของเหลว พร้อมมื้ออาหารเนื่องจากกระเพาะของคุณเล็กลง

หลังการผ่าตัด วิถีชีวิต และการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไป และน้ำหนักจะลดลงอย่างต่อเนื่อง และอาจต้องทานวิตามิน หรืออาหารเสริมอื่น ๆ ไปตลอด นอกจากนี้ยังจะต้องออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย
และจะไม่สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ จนกว่าจะสามารถรับประทานและดื่มได้เป็นปกติ

จะลดน้ำหนักได้มากเพียงใด และจะมีผลกระทบอะไรบ้าง?

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ 30-50% ของน้ำหนักเดิม หัตถการนี้สามารถแก้ไขอาการต่าง ๆ เช่น ความเหนื่อยล้า หายใจถี่ และการใช้ชีวิต เช่น การเดิน และออกกำลังกาย ซึ่งอาจช่วยลดอาการปวดของข้อต่อที่รับน้ำหนักและหลังได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในการลดโรคประจำตัวหลายอย่าง ส่งผลให้ใช้ยาน้อยลง ซึ่งได้แก่
– โรคเบาหวานชนิดที่ 2
– ความดันโลหิตสูง
– ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (หยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ)
– คอเลสเตอรอลสูง
– ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

ความเสี่ยงที่สำคัญในการผ่าตัดนี้คือการรั่วซึมของรอยลวดเย็บ (โดยปกติจะมีการรั่วซึม 1% ที่จุดศูนย์กลางทั้งหมด) แต่ด้วยฝีมือของศัลยแพทย์ของเรา นพ. ฐากูร นั้น มีผู้ป่วยของเรามากกว่า 400 ราย ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการรั่วซึมแต่อย่างใด (0%) เนื่องจากโดยปกติแล้วศัลยแพทย์จะเย็บปิดรอยลวดเย็บด้วยเยื่อบุช่องท้อง (โอเมนตัม) เพื่อลดความเสี่ยงในการรั่วซึม ในกรณีที่มีการรั่วซึมก็มักเกิดขึ้นใน 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด และผู้ป่วยจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้นถึง 2 – 4 สัปดาห์

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทันทีและในระยะสั้น:
– แผลติดเชื้อ
– เลือดออก

ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว:
– แผลในกระเพาะอาหาร
– การตีบของกระเพาะอาหาร
– พังผืด
– การขาดสารอาหารหลังการผ่าตัด
– การดูดซึมยาและแอลกอฮอล์น้อยลง
– อาการซึมเศร้าและการรับประทานอาหารปรับตัวอย่างไม่เหมาะสม (ผิดปกติ)
– น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและการกลับเป็นซ้ำของการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน

สิ่งที่ควรทำเพื่อให้แน่ใจว่าการผ่าตัดจะได้ผลในระยะยาว

การผ่าตัดลดน้ำหนัก อาจไม่สามารถช่วยให้ลดน้ำหนักได้ หากไม่มีการเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันก่อนและหลังการผ่าตัด ซึ่งมักจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ หากไม่ปฏิบัติตัว และรับประทานอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเท่านั้น และนี่คือเหตุผลที่ต้องเตรียมผู้ป้วยให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าได้เปลี่ยนการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ที่ถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าการผ่าตัดจะประสบความสำเร็จและจะได้รับผลลัพธ์ที่ดี
– รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลน้อย 3 มื้อต่อวัน
– หลีกเลี่ยงการดื่มของเหลวร่วมกับมื้ออาหาร
– หลีกเลี่ยงของว่าง เช่น มันฝรั่งทอดและขนมหวาน หรือ น้ำผลไม้/เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
– ลองใช้วิธีอื่นเพื่อปรับอารมณ์หรือคลายเครียด แทนการพึ่งพาอาหาร