โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ มุ่งมั่นที่จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในฐานะที่ท่านเป็นผู้เข้ารับบริการตรวจ รักษาโรค และบริการทางการแพทย์ รวมถึงบริการต่าง ๆ จากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โรงพยาบาลในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแจ้งเอกสารฉบับนี้ให้ท่านทราบถึงเหตุผลและวิธีการที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงแจ้งให้ท่านทราบสิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
วัตถุประสงค์
โรงพยาบาลประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านภายใต้ขอบเขตที่กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และประมวลผลข้อมูลเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการดังกล่าว โดยโรงพยาบาล ได้สรุปการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน พร้อมทั้งอธิบายฐานการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมาย (Lawful Basis of Processing) ดังนี้
ลำดับที่ | วัตถุประสงค์ | ประเภทข้อมูล | ฐานการประมวลผลที่ชอบด้วยกฎหมาย |
1. |
เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจรักษาโรคและให้บริการทางการแพทย์
1.1 การให้บริการทางการแพทย์ภายในสถานพยาบาลของโรงพยาบาล
1.2 การให้บริการทางการแพทย์ในกรณีจำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่าย
1.3 เพื่อรับ-ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล (Refer) |
|
|
2. |
เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาคุณภาพของการรักษาพยาบาลโดยไม่บ่งชี้ตัวตนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โรงพยาบาลอาจนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้เพื่อการศึกษาวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาคุณภาพของการรักษาพยาบาล โดยจะทำเป็นรูปแบบรายงานผลโดยภาพรวมที่ไม่มีการบ่งชี้ตัวตนของเจ้าของข้อมูล และโรงพยาบาล จะรักษาความลับของข้อมูลดังกล่าวของท่านอย่างเคร่งครัด |
|
เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของโรงพยาบาล(Legitimate Interest) ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยไม่ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุตัวตนได้เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในด้านการรักษาพยาบาล และการให้บริการต่าง ๆ ของโรงพยาบาล (ม.24 (5)) |
3. |
การเปิดเผยข้อมูลให้บริษัทประกันภัยที่ท่าน หรือโรงพยาบาล เป็นคู่สัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้สิทธิเรียกร้อวค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย หรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล โรงพยาบาลจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้บริษัทประกันภัยเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาที่ท่านหรือโรงพยาบาลได้ทำไว้กับบริษัทประกันภัย เพื่อประโยชน์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้โรงพยาบาลจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้กับบุคคลอื่นโดยที่ไม่เกี่ยวข้อง |
|
เมื่อได้รับการยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลด้านสุขภาพให้บริษัทประกันเพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิเรียกร้องสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (ม.26) |
4. |
การเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ที่ส่งท่านมาตรวจ หรือเป็นผู้ชำระเงินเมื่อท่านได้ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่หน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ส่งท่านมาตรวจรักษาให้แก่ท่านโรงพยาบาลจะเปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวให้กับบุคคลดังกล่าวเฉพาะกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้กับบุคคลดังกล่าวเท่านั้น ถ้าท่านไม่ได้ให้ความยินยอมดังกล่าว โรงพยาบาลจะส่งผลตรวจรักษาให้ท่านโดยตรง |
|
เมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (ม.26) |
5. |
เพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านเวชระเบียนระหว่างสถานพยาบาลผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น เมื่อท่านให้ความยินยอม โรงพยาบาลจะนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่านในการรับคำปรึกษาผ่านแอพพลิเคชั่น และเพื่อให้ท่านสามารถบริหารจัดการข้อมูลแอพพลิเคชั่นได้ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดระบบจะทำการเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านเวชระเบียนระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่ายเพื่อให้ท่านสามารถเรียกดูข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่มีอยู่กับสถานพยาบาลในเครือข่ายผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้โดยโรงพยาบาลมีความตกลงร่วมกับสถานพยาบาลในเครือข่ายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้เป็นไปตามที่ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด |
|
เมื่อได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากท่านในการเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างสถานพยาบาล (ม.26) |
6 |
เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดของโรงพยาบาล โรงพยาบาลอาจทำการเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวิเคราะห์สภาวะสุขภาพของท่าน และติดต่อเพื่อสื่อสาร ส่งข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ และนำเสนอโปรโมชั่น สินค้าและบริการแก่ท่านตามที่ท่านได้ให้ความยินยอม |
|
โรงพยาบาลจะดำเนินการในเรื่องนี้ได้หลังจากได้รับความยินยอมจากท่านในการให้โรงพยาบาลนำข้อมูลด้านสุขภาพไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด (ม.26) |
7. |
เพื่อการปฏิบัติตามสัญญากับท่านในฐานะที่ท่านเป็นผู้ให้บริการกับโรงพยาบาล หรือดำเนินตามคำขอของท่านในการเข้าทำสัญญากับโรงพยาบาลโรงพยาบาลจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในฐานะที่ท่านเป็นผู้ให้บริการกับโรงพยาบาล เพื่อการดำเนินการ เช่น
|
เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญากับท่านในฐานะที่ท่านเป็นผู้ให้บริการกับโรงพยาบาลหรือดำเนินตามคำขอของท่านในการเข้าทำสัญญากับโรงพยาบาล (ม.24 (3)) |
นอกจากวัตถุประสงค์ที่ระบุข้างต้นแล้ว โรงพยาบาลจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ยกเว้นในกรณีที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อนุญาต เช่น
- เมื่อได้รับความยินยอมจากท่าน (ม.24) หรือเมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในกรณีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (ม.26)
- เพื่อการศึกษาวิจัยหรือสถิติซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิและเสรีภ่พของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ม.24 (1))
- เพื่อป้องกันระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ (ม.24 (2))
- เพื่อการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างโรงพยาบาลกับท่าน (ม.24 (3))
- เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฏหมายของบริษัท (Legitimate Interest) หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ม.24 (5))
- เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายของโรงพยาบาล (ม.24 (6))
- เพื่อป้องกันระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพในกรณีที่การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม (ม.26 (1))
- เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย (ม.26 (4))
- เพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข หรือการคุ้มครองทางสังคมอื่นใดโดยโรงพยาบาลจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิพื้นฐานและประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ม.26 (5) (ข))
- เพื่อความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายด้านการคุ้มครองแรงงาน การให้สวัสดิการรักษาพยาบาล การประกันสังคม (ม.26 (5) (ค))
นิยาม
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
“ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว” หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา ข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
“ข้อมูลการรักษาพยาบาล” หมายถึง ข้อมูลดังต่อไปนี้
- วันเดือนปีที่เข้ารับการรักษา
- ประวัติแพ้ยา และประวัติผลข้างเคียงจากยา
- ประวัติแพ้อาหาร
- ชื่อโรคที่ได้รับการวินิจฉัย ชื่อหัตถการ และชื่อการผ่าตัด
- ผลเลือด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ปลตรวขชื้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ภาพถ่ายทางรังสีวิทยา และรายงานผลการตรวจทางรังสีวิทยา
- รายการยาที่แพทย์ได้สั่ง
- ข้อมูลอื่น เช่น อาการ คำแนะนำของแพทย์ และรายละเอียดการวินิจฉัยโรค เป็นต้น
“ประมวลผล” หมายถึง เก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
“กลุ่มบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ” หมายถึง บริษัทที่อยู่ในเครือข่ายของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีขึ้นในอนาคตไม่ว่าจะจดทะเบียนในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ด้วย“สถานพยาบาลในเครือข่าย” หมายถึง สถานพยาบาลในกลุ่มหรือในเครือข่ายของบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการจำกัด (มหาชน) ทั้งที่ประกอบกิจการในประเทศไทยและในต่างประเทศ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่าน
ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวม สามารถจำแนกเปนประเภทดังต่อไปนี้
ประเภทข้อมูลส่วนบุคคล | รายละเอียด |
1. ข้อมูลระบุตัวตน (Personal data) | เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน ID รูปถ่ายใบหน้า เพศ วันเดือนปีเกิด หนังสือเดินทาง หรือหมายเลขที่ระบุตัวตนอื่น ๆ |
2. ข้อมูลสำหรับการติดต่อ (Contact data) | เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล |
3. ข้อมูลการเงิน (Financial data) | เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต ข้อมูลใบเสร็จ ข้อมูลใบราคา |
4. ข้อมูลการสมัครข่าวสารแลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด (Marketing data) | เช่น ข้อมูลที่ใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด |
5. ข้อมูลสถิติ (Statistical data) | เช่น ข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน จำนวนผุ้ป่วย และจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ |
6. ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ (Technical data) | เช่น หมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ ชนิดของบราวเซอร์ ข้อมูล Cookies การตั้งค่าเรื่องเขตเวลา (time zone) ระบบปฏิบัติการ แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่ใช้เข้าเว็บไซต์ และ online Appointment system |
7. ข้อมูลด้านสุขภาพ (Health data) | เช่น ข้อมูลการรักษาพยาบาล รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของผู้รับบริการ ผลการทดสอบจากห้องทดลอง การวินิจฉัย ชื่อโรคที่ได้รับการวินิจฉัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและแพ้ยา ประวัติแพ้อาหาร ผลเลือด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ภาพถ่ายทางรังสีวิทยา และรายงานผลการตรวจทางรังสีวิทยา รายการยาที่แพทย์ได้สั่ง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการให้บริการทางการแพทย์ ข้อมูล Feedback และผลการรักษา |
แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลเก็บรวมรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากแหล่งที่มาดังต่อไปนี้
- ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้โดยตรงจากท่าน ได้แก่
1.1 กรณีที่ท่านเป็นผู้เข้ารับบริการตรวจและรักษาโรค : โรงพยาบาลได้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากการที่ท่านติดต่อสอบถามโรงพยาบาล เรื่องการบริการ หรือท่านได้ลงทะเบียนเข้ารับบริการททางการแพทย์ และบริการต่าง ๆ จากโรงพยาบาลด้วยตนเองที่โรงพยาบาล รวมทั้งลงทะเบียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1.2 กรณีที่ท่านเป็นผู้ให้บริการ (Vender) ของโรงพยาบาล : โรงพยาบาลได้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากการที่ท่านติดต่อสอบถามกับโรงพยาบาล เพื่อเข้ามาให้บริการกับโรงพยาบาล หรือการที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในฐานะที่ท่านเป็นผู้ให้บริการที่เข้าทำสัญญากับโรงพยาบาล - ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับโดยทางอ้อม ได้แก่
2.1 บุคคลที่มีความใกล้ชิดกับท่าน เช่น ญาติ คู่สมรส เป็นต้น
2.2 บุคคลที่ท่านมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนตัวท่านในการติดต่อกับโรงพยาบาล
2.3 สถานพยาบาลในเครือข่ายในกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับสถานพยาบาลในเครือข่ายไว้ว่าให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้
2.4 บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ส่งท่านมาตรวจรักษาหรือใช้บริการกับโรงพยาบาล หรือเป็นผู้ชำระค่าบริการให้กับท่าน
การเปิดเผยหรือแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้บุคคลภายนอก ยกเว้นเป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาตเพื่อความจำเป็นในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้โรงพยาบาล อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้กรณีต่อไปนี้
- เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้หน่วยงานราชการ หน่วยงานผู้มีอำนาจหรือบุคคลใด ๆ เมื่อมีกฎหมายกำหนดหรือให้อำนาจ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
- การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลที่โรงพยาบาล จำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือเพื่อผลประโยชน์ของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยโรงพยาบาลกำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลเหล่านี้ต้องรักษาความลับและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามมาตรฐานที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงบุคคลหรือนิติบุคคลในข้อนี้ได้แก่
- สถานพยาบาลในเครือข่าย และกลุ่มบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ เท่าที่จำเป็นในการให้บริการตรวจรักษาโรคและให้บริการทางการแพทย์กับท่าน โดยโรงพยาบาลจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะส่วนที่จำเป็นเท่านั้น โรงพยาบาลจะรักษาความลับให้กับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามหน้าที่ที่โรงพยาบาลมี ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525
- บริษัทประกันภัย หรือผู้ให้บริการบริหารจัดการสินไหมทดแทนของบริษัทประกัยภัยนั้น
- สถานพยาบาลที่รับการส่งต่อผู้ป่วย
- ผู้ส่งท่านมาตรวจรักษาหรือใช้บริการกับสถานพยาบาล หรือชำระเงินค่าบริการแทนท่าน
- ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล เช่น ผู้รับจ้าง หรือผู้ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การจัดทำข้อมูล การโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ การชำระเงิน หรือการให้การบริการด้านเทคโนโลยี (Technology Outsource)
- โรงพยาบาลอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระบบประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) โดยใช้บริการจากบุคคลที่สามไม่ว่าตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยโรงพยาบาลได้เข้าทำสัญญากับบุคคลดังกล่าวด้วยความระมัดระวังและพิจารณาถึงระบบรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ให้บริการระบบ (Cloud Computing) นั้นให้กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
- โรงพยาบาลใช้มาตรฐานระยะเวลาการเก็บเวชระเบียนตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และฉบับแก้ไขล่าสุด โดยโรงพยาบาลจะเก็บเวชระเบียนไม่เกิน 10 ปี นับจากวันที่มารับการรักษาพยาบาลครั้งสุดท้ายเมื่อครบกำหนด 10 ปีแล้วจะทำลายทิ้งทั้งเวชระเบียนฉบับจริง สำเนา และเวชระเบียนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
- ในกรณีที่โรงพยาบาลต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือต้องก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายเพื่อเข้ากระบวนการระงับข้อพิพาทใด ๆ โรงพยาบาลอาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามระยะเวลาของอายุความตามกฎหมาย หรือจนกว่าข้อพิพาทนั้นจะถึงที่สุดแล้วแต่กรณี
มาตรการในการเก็บรักษาและปรมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
- โรงพยาบาลจะจัดเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลด้วยมาตรการไม่น้อยกว่าระดับกฎหมายที่กำหนด และด้วยระบบที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เช่น ใช้โปรโตคอลดความปลอดภัย (Secure Sockets Layer : SSL) ปกป้องด้วยไฟร์วอลล์ รหัสผ่าน และมาตรการทางเทคนิคอื่น ๆ สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต และจัดเก็บในสถานที่ที่ระบบป้องกันการเข้าถึงจำกัดบุคคลที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปแบบเอกสาร
- โรงพยาบาลจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจจะเข้าถึงได้โดยพนักงาน ตัวแทน คู่ค้า หรือบุคคลภายนอก การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกจะสามารถทำได้ตามเท่าที่กำหนดไว้ หรือตามคำสั่ง ซึ่งบุคคลภายนอกจะต้องมีหน้าที่ในการรักษาความลับและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- โรงพยาบาลจัดให้มีวิธีการทางเทคโนโลยีเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาต
- โรงพยาบาลมีระบบตรวจสอบเพื่อจัดการทำลายข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่มีความจำเป็นในการดำเนินการของโรงพยาบาล
- ในกรณีที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว โรงพยาบาลจะจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในด้านการเข้าถึงและควบคุมการใช้งาน มีระบบการใช้งานและระบบสำรองพร้อมทั้งแผนสำหรับกรณีฉุกเฉิน และมีการตรวจสอบประเมินความเสี่ยงของระบบอย่างสม่ำเสมอ
การโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ
- ในบางกรณีโรงพยาบาลอาจมีความจำเป็นต้องโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังต่างประเทศ โรงพยาบาลอาจดำเนินการดังกล่าวได้หลังจากที่ได้แจ้งกับท่านถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการดังกล่าว และได้รับการยินยอมจากท่านแล้ว โดยโรงพยาบาลจะแจ้งให้ท่านทราบถึงมาตรฐานการคุ้มครองข่อมูลส่วนบุคคลที่อาจไม่เพียงพอของประเทศปลายทาง
- โรงพยาบาลสามารถโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากท่านในกรณีที่การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศนั้นเป็นไปเพื่อปฏิบัติตามสัญญาซึ่งท่านเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อใช้ในการดำเนินการจามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญานั้น หรือเป็นไปตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
นโยบายเกี่ยวกับคุกกี้ (Cookie Policy)
เมื่อท่านเยี่ยมชมเว็บไซต์ของโรงพยาบาล โรงพยาบาลใช้คุกกี้เพื่อให้มั่นใจว่าท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้งานบนเว็บไซต์ของโรงพยาบาล คุกกี้เป็นไฟล์ขนาดเล็กที่จัดเก็บข้อมูลและบันทึกลงไปในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือสื่อสารที่เข้าใช้งานของท่านผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ที่ท่านเลือกใช้ในขณะที่ท่านเข้าชมเว็บไซต์
โรงพยาบาลใช้คุกกี้เพื่อเก็บเอกลักษณ์การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่านโดยเอกลักษณ์นี้ทำให้โรงพยาบาล สามารถจำลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของท่านได้ง่ายขึ้น และข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ของโรงพยาบาลให้เข้ากับความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งานเว็บไซต์ท่าน ในบางครั้งโรงพยาบาลจำเป็นต้องให้บุคคลที่สามในการดำเนินการดังกล่าวซึ่งอาจต้องใช้อินเทอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP Address) และคุกกี้เพื่อวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูล และประมลผลตามวัตถุประสงค์ทางการตลาด ท่านสามารถตั้งค่าคุกกี้ได้เมื่อท่านเข้าสู่เว็บไซต์ของโรงพยาบาล โดยท่านสามารถเลือกได้ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คุกกี้ทำการวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูล และประมวลผลตามวัตถุประสงค์ทางการตลาด
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิร้องขอให้โรงพยาบาล ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามขอบเขตที่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้ ดังนี้
- สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอม ยินยอมในการประมลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาล ได้ตลอดเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
- สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน และขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลให้แก่ท่านได้
- สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่สมบรูณ์
- สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลทำการลบข้อมูลของท่านด้วยเหตุผลบางประการได้
- สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) ท่านมีสิทธิให้โรงพยาบาลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุผลบางประการได้
- สิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
- สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุผลบางประการได้
ท่านสามารถติดต่อมายัง เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ เพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขอดำเนินการตามสิทธิข้างต้นได้ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ 44 หมู่ 5 ถนน เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เบอร์โทรศัพท์ 076-361-888 email [email protected]
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจทบทวนและเปลี่ยนแปลงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในอนาคตเพื่อพัฒนาให้เกิดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ดีขึ้น โดยโรงพยาบาลจะแจ้งให้ท่านทราบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว
ช่องทางการติดต่อ
ท่านสามารถติดต่อมายัง เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ เพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขอดำเนินการตามสิทธิข้างต้นได้ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ 44 หมู่ 5 ถนน เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เบอร์โทรศัพท์ 076-361-888 email [email protected]