ลักยิ้ม

บทนำ

ลักยิ้มถือเป็นจุดเด่นที่น่าดึงดูด การทำลักยิ้มเป็นหัตถการที่ค่อนข้างง่าย และมักเป็นหัตถการผู้ป่วยนอก ในระหว่างการผ่าตัด ผิวหนังในกล้ามเนื้อแก้มจะถูกเชื่อมเข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวก็จะดึงผิวหนังเข้าด้านใน และทำให้เกิดลักยิ้มลักษณะเดียวกับลักยิ้มตามธรรมชาติ

หัตถการผ่าตัด

ในการทำลักยิ้ม ผิวหนังบาง ๆ รูปวงกลมขนาดเล็กจะถูกนำออกจากด้านในของแก้ม โดยการตัดเยื่อบุ (ผิวแก้มด้านใน) ไขมันใต้เยื่อบุ และกล้ามเนื้อแก้มบางส่วนออกโดยใช้เครื่องมือเจาะตัดชิ้นเนื้อบริเวณของเนื้อเยื่อที่ถูกนำออกนี้จะถูกเย็บเข้าด้วยกันโดยใช้ไหมละลาย โดยจะเย็บผ่านกล้ามเนื้อแก้มที่ด้านหนึ่งของเนื้อเยื่อวงกลมที่ถูกนำออก จากนั้นจึงเย็บผ่านชั้นหนังแท้ของผิวหนัง และเย็บย้อนผ่านกล้ามเนื้อแก้มอีกด้านหนึ่งของวงกลมนั้น แล้วผูกปมไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดลักยิ้มแม้ว่าจะไม่ได้ยิ้มก็ตาม
ภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ เมื่อไหมละลายแล้ว แก้มจะแผ่ออกและลักยิ้ม จะหายไปเมื่อคุณไม่ได้ยิ้ม อย่างไรก็ตามเนื่องจากเกิดรอยแผลด้านในแก้มกล้ามเนื้อจะเชื่อมต่อกับผิวหนังทำให้เกิดลักยิ้มเมื่อคุณยิ้ม หัตถการนี้สามารถทำได้กับแก้มทุกประเภท แต่จะเห็นผลลัพธ์ ได้ดีที่สุดในแก้มที่ป่องมากและสามารถสร้างลักยิ้มที่ใหญ่ขึ้นได้โดยการเจาะชิ้นเนื้อที่ใหญ่ขึ้นเพื่อเอาเนื้อเยื่อวงกลมขนาดใหญ่ออก

พักรักษาตัวในโรงพยาบาล

0 คืน

ระยะเวลาการผ่าตัด

1 - 3 ชั่วโมง

ยาชา / ยาสลบ

ยาชาเฉพาะที่

การดูแลก่อนการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด โปรดแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบถึงอาการแพ้ หรือโรคประจำตัว และยาที่กำลังใช้ (ทั้งที่ต้องมีและไม่มีใบสั่งยา)
ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องแจ้งศัลยแพทย์ก่อนการผ่าตัด เพื่อลดโอกาส ของการมีเลือดออกหลังผ่าตัดและควรหลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของแอสไพรินหรือ บรูเฟนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
ห้ามสูบบุหรี่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เนื่องจากการสูบบุหรี่อาจส่งผลต่อ ปฏิกิริยาของยาชา และทำให้หายช้าลง
ลักยิ้ม

การดูแลหลังการผ่าตัด

สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติทันทีหลังการทำหัตถการ

ในช่วงสองสามเดือนแรก ควรบ้วนปากด้วยน้ำยาเบตาดีนฆ่าเชื้อในช่องปาก หรือน้ำยาแบคทีดอล (คลอเฮกซิดีน) เป็นประจำ และศัลยแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะให้ด้วย

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

หัตถการนี้มีความเสี่ยงน้อยมาก แต่จะมีอาการบวม