การเสริมคาง
หัตถการผ่าตัด
ศัลยแพทย์จะเลือกขนาด และรูปร่างของคางเทียมที่เหมาะสำหรับการปรับปรุงรูปลักษณ์ จากนั้นศัลยแพทย์จะผ่าเป็นรอยแผลเล็ก ๆ ไปตามด้านในของริมฝีปากล่างหรือใต้คางเพื่อสร้างช่องที่มี ลักษณะ คล้ายกระเป๋า จากนั้นจึงใส่คางเทียมเข้าไปในช่องดังกล่าว
0 คืน
1 - 2 ชั่วโมง
ยาชาเฉพาะที่
การดูแลก่อนการผ่าตัด
การดูแลหลังการผ่าตัด
โดยปกติแล้ว หลังการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะปิดแผลที่คางด้วยผ้าเทปเพื่อลดอาการบวม และความรู้สึกไม่สบายตัว ไหมที่เย็บบนผิวหนังจะได้รับการตัดออกใน 5 – 7 วัน โดยศัลยแพทย์จะใช้ไหมละลายหากมีการผ่าในช่องปาก
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยโบท็อกซ์ ได้แก่ เปลือกตาฟกช้ำและคลื่นไส้ แต่อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวและควรค่อย ๆ หายไป นอกจากนี้อาจมีอาการปวดเฉพาะที่ การติดเชื้อ การอักเสบ อาการกดเจ็บ อาการบวม แดง และมีเลือดออก หรือมีรอยฟกช้ำที่เกิดจากการฉีดา แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และมักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง (ALS) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วร่างกาย (myasthenia gravis) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแลมเบิร์ท-อีทัน (Lambert-Eaton syndrome) อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงมากขึ้น
ผลลัพธ์
หัตถการผ่าตัดทุกประเภทต่างก็มีความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงที่พบได้บ่อย ได้แก่ อาการบวม รอยฟกช้ำ การมีเลือดออก การติดเชื้อ มีของเหลวไหลออกมาจากแผล อาการชา หรือความรู้สึกประสาท สัมผัสที่คาง
ความเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดในการผ่าตัดนี้ คือ อาการชาจากยาชา และอาการบวม โปรดทราบว่าในขณะที่แผลกำลังหาย บางบริเวณจะกลับมารับความรู้สึกได้ก่อนบริเวณอื่น ๆ อาการชาที่ริมฝีปาก มักจะบรรเทาลงใน 2-3 สัปดาห์ นอกจากนี้คางอาจไม่ดูปกติหรือ “ขยับ” อันเนื่องจากอาการบวม การบาดเจ็บ หรือการมีเลือดออก หากเกิดภาวะเหล่านี้ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำแต่ก็เป็น ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก