การศัลยกรรมใบหู

หัตถการผ่าตัด

เทคนิคที่ใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหาของผู้ป่วย โดยทั่วไป ศัลยแพทย์จะผ่าเป็นแผลเล็ก ๆ ที่ด้านหลังของหูเพื่อให้เห็นกระดูกอ่อนใบหู จากนั้นจึงเหลาให้ได้รูปทรงที่ต้องการแล้วใส่กลับเข้าไป บางครั้งมีการเย็บด้วยไหมถาวรเพื่อให้ใบหูอยู่ในตำแหน่งใหม่ และอาจมีการนำกระดูกอ่อนชิ้นใหญ่ออก เพื่อให้เกิดรอยพับที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นหลังการผ่าตัด ส่วนอีกเทคนิคหนึ่งศัลยแพทย์จะ เย็บเพื่อให้กระดูกอ่อนพับกลับเข้าที่โดยไม่เอากระดูกอ่อนออก

โดยส่วนใหญ่ การศัลยกรรมใบหูจะทิ้งรอยแผลเป็นจาง ๆ ไว้ที่หลังหู ซึ่งจะจางหายไปเมื่อเวลาผ่านไป แม้ว่าจะมีหูกางเพียงข้างเดียวแต่ศัลยแพทย์มักจะทำการผ่าตัดใบหูทั้งสองข้างเพื่อให้หูดูเท่ากัน มากขึ้น

พักรักษาตัวในโรงพยาบาล

0 คืน

ระยะเวลาการผ่าตัด

1 - 3 ชั่วโมง

ยาชา / ยาสลบ

ยาชาเฉพาะที่

การดูแลก่อนการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด โปรดแจ้งให้ศัลยแพทย์ของคุณทราบถึงอาการแพ้ โรคประจำตัว และยาที่กำลังใช้ (ทั้งที่มีและไม่มีใบสั่งยา)
ควรหลีกเลี่ยงแอสไพรินและยาที่มีส่วนผสมของบรูเฟนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการ ผ่าตัด เพื่อลดโอกาสในการมีเลือดออก หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิต สูงต้องแจ้งศัลยแพทย์ก่อนการผ่าตัด
ศัลยแพทย์ของคุณจะให้คำปรึกษา โดยจะทำการประเมินและแนะนำวิธีการรักษา ที่เป็นไปได้และให้คำแนะนำในการเตรียมตัวสำหรับการผ่าตัด หากผู้เข้ารับการผ่าตัด คือบุตรหลาน ผู้ปกครองควรรับฟังความต้องการ และความรู้สึกของเด็กอย่างใส่ใจ และไม่ควรยืนกรานให้ทำ การผ่าตัดจนกว่าเด็กจะตัดสินใจด้วยตัวเองว่าต้องการ เปลี่ยนแปลง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบุตรหลานของท่านสบายใจที่จะเข้ารับการผ่าตัดและจะ มีความสุขกับผลลัพธ์ที่ได้
การศัลยกรรมใบหู

การดูแลหลังการผ่าตัด

หลังการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะพันศีรษะด้วยผ้าพันแผลเพื่อให้ใบหูอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ และช่วยให้หายเร็วขึ้น ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดตุบ ๆ หรือปวดหูเป็นเวลา 2-3 วันหลังการผ่าตัด ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติและอาการเหล่านี้จะหาย ไปเมื่อเวลาผ่านไป

หลังจากผ่านไป 2-3 วัน จะสามารถเปลี่ยนจากผ้าพันแผลเป็นผ้าคลุมศีรษะที่มีน้ำหนักเบาและเปลี่ยนเป็นแถบ คาดศีรษะในที่สุด และจะต้องสวมใส่เครื่องพันแผลตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืนเมื่อเข้านอน
หากมีการเย็บแผลด้วยไหม ไหมจะถูกตัดหรือละลายไปในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ละคนมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามหลังการผ่าตัดอาจพบผลข้างเคียงต่อไปนี้ เช่น อาการปวดตุบๆ ชั่วคราว อาการปวดและบวม รอยแดง และอาการชา

ในช่วง 2-3 เดือนแรก ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงกิจกรรม ที่ต้องใช้แรงมากหรือกีฬาที่มีการปะทะ และจะสามารถกลับ ไปทำงานหรือไปโรงเรียนได้ภายใน 5 ถึง 7 วัน

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

หัตถการผ่าตัดทุกประเภทต่างก็มีความเสี่ยง และควรตระหนักถึงความเสี่ยงทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับหัตถการนั้น ก่อนที่จะยินยอมเข้ารับการผ่าตัด ความเสี่ยงและอัตราความเสี่ยงจะแตกต่าง กันไปในผู้ป่วยแต่ละคน เนื่องจากแต่ละคนมีความแตกต่างกันผู้ป่วยส่วนน้อยเกิดลิ่มเลือดที่หู ซึ่งลิ่มเลือดนี้สลายไปตามธรรมชาติหรือสามารถดูดออกมาด้วยเข็มฉีดยา นอกจากนี้การติดเชื้อเป็น อีกหนึ่งความเสี่ยงที่พบได้บ่อย แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงนี้ได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำหากเกิดแผลเป็นขนาดใหญ่ หูไม่เท่ากันหรือดูเหมือนหูปลอม หรือหูกลับ มากางอีกครั้ง ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ยากมาก