การผ่าตัดแก้ไขเต้านม
Surgical Procedure
ศัลยแพทย์จะทำการเอาเต้านมเทียมเดิม ซึ่งอาจอยู่ในตำแหน่งใต้เนื้อเยื่อทรวงอก หรืออยู่ลึกเข้าไปด้านหลังกล้ามเนื้อหน้าอกนี้ออก โดยผ่าเปิดรูในบริเวณข้างใต้เต้านม หรือรอบ ๆ ปานนม หลังการ ผ่าตัด ผู้ป่วยจะถูกย้ายไปห้องพักฟื้น ซึ่งจะมีทีมพยาบาลให้การดูแลเป็นอย่างดี จนกว่าผู้ป่วยจะฟื้นตัวจากยาสลบแล้ว หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะถูกย้ายเข้าห้องพักส่วนตัว พยาบาลจะทำการเปลี่ยนผ้า พันแผลให้ และคอยตรวจวัดชีพจร และความดันเลือดอย่างสม่ำเสมอ
1 คืน
2 - 3 ชั่วโมง
การใช้ยาสลบ
Pre Operative Care





Post Operative Care
หลังจากผ่าตัดเอาเต้านมเทียมออกแล้ว ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายตัว อาจมีอาการบวม ช้ำ มีอาการคัดแน่น และปวด / ตึงในทรวงอก อาการเหล่านี้เป็นอาการชั่วคราว และจะค่อย ๆ บรรเทาลงในไม่กี่สัปดาห์หลังผ่าตัด การกลับเข้า รูปของทรวงอกอาจใช้เวลาได้หลายเดือน
ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของศัลยแพทย์อย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควร เลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะจนกว่าจะมั่นใจแล้วว่าตนเองมีสมรรถนะที่ดีพร้อมแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเหยียบ เบรคได้โดยที่ไม่มีอาการระคายเคืองบริเวณหน้าอก หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก การยกของหนัก ว่ายน้ำ และการดูดฝุ่น ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังผ่าตัด เมื่อมาพบแพทย์เพื่อการตรวจติดตามผลการรักษา ศัลยแพทย์จะตรวจเช็คถึงพัฒนาการของการฟื้นตัว และให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรม ตามปกติได้แล้วหรือไม่
การพักฟื้น
การฟื้นตัวในแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับวิธี และระยะเวลาที่ใช้ในระหว่างการผ่าตัด แต่โดยส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรม และใช้ชีวิตตามปกติได้ภายใน 2 สัปดาห์หลังการ ผ่าตัด
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
ทุกการผ่าตัดมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรศึกษาข้อมูลในส่วนนี้ให้ดี เพื่อให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องถึงความเสี่ยง และอาการแทรกซ้อนทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัดเอาเต้านมเทียม ออก นอกจากนี้ ทุกการรักษามีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรศึกษาและเปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสีย และผลที่จะได้รับจากการรักษาแต่ละแบบและตัดสินใจว่าการรักษาแบบใดที่เหมาะกับ ตนเองมากที่สุด โดยผู้ป่วยสามารถปรึกษากับศัลยแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าตนเองเข้าใจถึงความเสี่ยง อาการแทรกซ้อนที่อาจเป็นไปได้ และผลที่จะได้รับหลังการผ่าตัดเอาเต้านมเทียมออก
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดแก้ไขเต้านม ได้แก่ :
การติดเชื้อ
มีรอยแผลเป็นมากขึ้นกว่าตอนก่อนผ่าตัด
ความหย่อนยานของผิวหนัง
เต้านมอาจมีความหย่อนยานกว่าตอนก่อนผ่าตัด
การสูญเสียความรู้สึกบริเวณหัวนม
รู้สึกช็อค หรือตกใจกับความเปลี่ยนแปลงของขนาดทรวงอกที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้
อาจมีอาการแทรกซ้อนจากการใช้ยาชาหรือยาสลบ